ตีความ

ข้อมูลการให้คำปรึกษานิสิตฝึกสอน (MPI) ของท่านถูกแปลผลอย่างไร

 

เมื่อท่านกรอกข้อมูลการให้คำปรึกษานิสิตฝึกสอนของท่านเสร็จแล้ว ท่านจะทราบทันทีว่าท่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของท่านกับนิสิตฝึกสอนอย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยท่านระบุลักษณะของการทำงานที่ท่านคิดว่าเป็น (1) แรงจูงใจ หรือ พึงพอใจ หรือ (2) อุปสรรคหรือเป็นปัญหา  ซึ่งทั้งแรงจูงใจและอุปสรรคทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ท่านรู้อยู่ภายในความคิดเบื้องลึกของท่านอยู่แล้ว และ MPI นี้เป็นเครื่องมือที่ช่วยทำให้ความคิดเหล่านั้นแสดงออกมาอย่างชัดเจน

 

ดังนั้นข้อดีของ MPI คือช่วยแสดงสิ่งที่ท่านปฏิบัติเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาแก่นิสิตฝึกสอนของท่านออกมาให้ชัดเจนในหลากหลายด้านเพื่อสะท้อนถึงการกระทำที่ตั้งใจและคิดอย่างรอบคอบ และ MPI ถือเป็นจุดเริ่มต้น และช่วยให้เกิดการพูดคุยประเด็นเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาในวงกว้างมากขึ้นและยังส่งเสริมการพูดคุยกันระหว่างอาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ และนิสิตฝึกสอน รวมทั้งระหว่างโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และมหาวิทยาลัย

 

ข้อมูลของท่านได้แสดงประเด็นที่สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของท่านในปัจจุบัน โดยการนิเทศนิสิตฝึกสอนนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นกับบริบท ประสบการณ์ และความรู้ โดยข้อมูลเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาของท่านในหน้าที่แสดงอยู่นี้จะมีกราฟแท่งที่ประกอบด้วยแถบทั้งหมด14 แถบ และกราฟรูปวงกลมที่ประกอบด้วยรูปวงกลมอีก 3 รูป 

 

1

 

สำหรับกราฟรูปวงกลมจะแสดงถึงความสมดุลภายในและภายนอกของทั้งด้านแรงจูงใจและด้านอุปสรรค โดยกราฟรูปวงกลุมรูปแรกแสดงความสมดุลของด้านแรงจูงใจซึ่งเป็นความสมดุลรระหว่าง ‘ตนเอง’ กับ ‘ผู้อื่น’ สำหรับกราฟรูปที่สองแสดงความสมดุลของด้านอุปสรรคซึ่งเป็นความสมดุลระหว่าง ‘ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล’ กับ ‘ระบบ’ และกราฟรูปที่สามแสดงความสมดุลทั้งหมดของท่านระหว่างด้านแรงจูงใจทั้งหมด 8 รายการ และด้านอุปสรรคทั้งหมด 6 รายการ 

 

ด้านแรงจูงใจในการให้คำปรึกษาและการนิเทศนิสิตฝึกสอน ทั้งหมด 8 รายการ

 

ผลจากการสัมภาษณ์อาจารย์พี่เลี้ยงซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยพบว่าครูพี่เลี้ยงให้เหตุผลหลายข้อว่าเหตุใดจึงเกิดแรงจูงและมีความพึงพอใจในการทำงานกับนิสิตฝึกสอนทั้งในบริบทของกิจกรรมห้องเรียนและโรงเรียน แม้ว่าเหตุผลต่างๆ เหล่านั้นจะมีรายละเอียดและซับซ้อน  แต่ก็พบว่ามีความคิดเห็นหลักทั้งหมดจำนวนทั้งหมด 8 รายการ ที่แสดงถึงแรงจูงใจในการทำงานร่วมกับนิสิตฝึกสอน โดยทั้ง 8 รายการแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้

การทำงานของข้าพเจ้าร่วมกับนิสิตฝึกสอนมีความสำคัญ :

  • เพื่อเป็นการสานต่อวิชาชีพ
  • เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติการสอนของข้าพเจ้า
  • เพราะนิสิตฝึกสอนสามารถส่งเสริมการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้
  • เพราะทำให้ได้หยุดชั่วขณะเพื่อติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน
  • เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการผลิตครู
  • เพราะเป็นสิ่งช่วยเตือนความจำเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ 
  • เพื่อพัฒนากลุ่มผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน
  • เพื่อติดตามการปฏิบัติต่างๆ ในห้องเรียน

คะแนนของแรงจูงใจ (แสดงในแถบสีเขียว) มีค่าระหว่าง 0 ถึง 50 โดยค่าที่มีค่าสูง (แถบสีเขียวยาว) บ่งชี้ว่าด้านนั้นๆ จูงใจท่าน แต่ถ้าคะแนนต่ำบ่งชี้ว่าด้านนั้นจูงใจท่านน้อย เส้นสีดำ « ׀ » เป็นเส้นค่าเฉลี่ยของคะแนนจากอาจารย์พี่เลี้ยงท่านอื่นในภาพรวมทั้งหมด ซึ่งอาจารย์พี่เลี้ยงแต่ละคนก็จะมีความคิด ประสบการณ์

 

และการทำงานในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน อาจารย์พี่เลี้ยงบางท่านอาจมีความพึงพอใจมากในบางด้านและอาจจะน้อยในบางด้าน ดังนั้นจึงไม่มีอะไรไม่มีผิดหรือถูก แท่งกราฟด้านแรงจูงใจที่แสดงนั้นจะช่วยท่านมองเห็นว่าแรงจูงใจของท่านเด่นชัดในด้านใด และด้านใดไม่เด่นชัด ซึ่งรายละเอียดข้างล่างนี้จะเป็นการแปลผลของด้านแรงจูงใจในแต่ละรายการ :

 

แถบในกราฟจำนวน 14 แถบนี้แบ่งออกเป็นด้านแรงจูงใจจำนวน 8 รายการ และด้านอุปสรรคจำนวน 6 รายการ ซึ่งรายกายเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่บอกถึงการทำงานของอาจารย์พี่เลี้ยงกับนิสิตฝึกสอนในบริบทของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

การทำงานร่วมกับนิสิตฝึกสอนเป็นสิ่งสำคัญต่อการศึกษาและต่อสังคม และเป็นผู้ที่เห็นว่าการให้คำปรึกษานิสิตฝึกสอนในโรงเรียนช่วยพัฒนานิสิตฝึกสอนให้เป็นครูที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

การปรับปรุงการปฏิบัติการสอน

 บ่งชี้ว่าครูพี่เลี้ยงเป็นผู้ที่มองเห็นว่าการนิเทศนิสิตฝึกสอนช่วยให้การปฏิบัติการสอนและทักษะการสอนของอาจารย์พี่เลี้ยงเองดีขึ้น และเป็นผู้ที่เชื่อว่านิสิตฝึกสอนช่วยทำให้เขาในการค่อยๆ ปรับเปลี่ยนค่านิยมและความเชื่อ ทำให้ความคิดของเขาทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน และเป็นผู้ที่มองเห็นประโยชน์ของการอธิบายให้นิสิตฝึกสอนฟังว่าทำไมเขาจึงสอนเช่นนั้น

 

นิสิตฝึกสอนช่วยส่งเสริมนักเรียนให้มีส่วนร่วมในชั้นเรียนได้

 โดยเป็นการเตรียมครูพันธุ์ใหม่ให้เกิดขึ้นในห้องเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อไปให้นักเรียนพร้อมที่จะเรียนรู้ ทำให้นักเรียนสนใจบทเรียนและส่งเสริมบรรยากาศในชั้นเรียน และช่วยชี้ให้เห็นถึงความหลายของนักเรียนในชั้นเรียน และที่สำคัญ นักเรียนมองเห็นว่านิสิตฝึกสอนก็เป็นผู้เรียนเหมือนคนอื่นๆ เช่นกัน และมองเห็นว่าห้องเรียนเป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้สำหรับทุกคน

 

การได้หยุดพักเพื่อจะติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน

 ช่วยทำให้อาจารย์พี่เลี้ยงได้มีเวลาหยุดชั่วขณะและสะท้อนหรือทำให้มีลมหายที่จะคิดและสังเกตชั้นเรียนของตนเอง ในระหว่างที่ทำงานกับนักเรียนแบบตัวต่อตัว หรือระหว่างติดตามความต้องการในการเรียนรู้ของผู้เรียน 

 

การสานต่อวิชาชีพ

โดยการพัฒนาครูรุ่นใหม่ถือเป็นรางวัลให้กับอาจารย์พี่เลี้ยงอย่างหนึ่ง ซึ่งครูพี่เลี้ยงเหล่านี้เป็นผู้ที่เชื่อว่าการนิเทศนิสิตฝึกสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการสานต่อและเติมเต็มวิชาชีพครู การผลิตครูเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างหนึ่ง  

 

สิ่งที่ช่วยเตือนความจำเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพ

โดยอาจารย์พี่เลี้ยงที่ให้เหตุผลนี้คือบุคคลที่ใส่ใจกับอาชีพของตนเองและตระหนักว่าการคำปรึกษาเป็นรูปแบบหนึ่งของความเป็นผู้นำทางการศึกษา และขณะเดียวกันอาจารย์พี่เลี้ยงเหล่านี้ก็ตระหนักถึงอันตรายของการคุยโม้โอ้อวดเรื่องของตนเองและคิดว่าการทำงานร่วมกับนิสิตฝึกสอนเป็นการเปิดโอกาสให้เข้าสู่การปฏิบัติงานของตนเองทั้งในฐานะครูผู้สอนและผู้ให้คำปรึกษา 

 

  การพัฒนากลุ่มผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน

 โดยอาจารย์พี่เลี้ยงที่ให้เหตุผลนี้คือบุคคลมีความพึงพอใจในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการส่งเสริมการทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน และชุมชุน อาจารย์พี่เลี้ยงเหล่านี้มองเห็นว่าการนิเทศ เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์เชิงวิชาชีพกับเพื่อนร่วมงานในอนาคต และมีความสุขกับการได้เรียนรู้ร่วมกันที่เกิดขึ้นในบริบทของการฝึกสอน 

 

การติดตามการปฏิบัติต่างๆ ในชั้นเรียน

 โดยอาจารย์พี่เลี้ยงที่ให้เหตุผลนี้คือบุคคลที่มีความสุขกับการได้ช่วยนิสิตฝึกสอนให้เชื่อมโยงทฤษฏีสู่การปฏิบัติ  ได้ช่วยให้นิสิตทำงานหรือจัดการกับประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน ช่วยให้นิสิตได้เรียนรู้ พัฒนา และเข้าใจว่ามีวิธีสอนอีกมากมายที่สามารถใช้ได้ 

 

การสนับสนุนส่งเสริมการผลิตครู 

โดยอาจารย์พี่เลี้ยงที่ให้เหตุผลนี้คือผู้ที่มีความสุขในการฝึกครูใหม่ โดยอาจารย์เหล่านี้เห็นคุณค่าการทำงานกับนิสิตฝึกสอนว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ และคิดว่าเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่รับผิดชอบในวิชาชีพ และช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพของตนเอง

  • ความไม่ชัดเจนในเรื่องนโยบายและกระบวนการ 
  • ความกังวลเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ 
  • ความกังวลเกี่ยวกับการเตรียมนิสิตฝึกสอนก่อนการฝึกสอน 
  • ความไม่แน่นอนของให้ข้อมูลย้อนกลับและการสื่อสาร  

 

เช่นเดียวกับด้านแรงจูงใจ คะแนนของด้านอุปสรรค (แถบสีส้ม) มีค่าระหว่าง 0 ถึง 50 ค่าคะแนนสูง (แถบยาว) บ่งชี้ว่าประเด็นนั้นๆ เป็นอุปสรรคต่อท่านในระดับมาก ขณะที่คะแนนต่ำบ่งชี้ว่าประเด็นนั้นเป็นอุปสรรคน้อย สำหรับเส้นสีดำ « ׀ » คือค่าคะแนนเฉลี่ยของอาจารย์พี่เลี้ยงทั้งหมด ซึ่งคะแนนของท่านเองอาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าคะเฉลี่ยก็ได้ คำอธิบายแสดงรายละเอียดของความท้าทายทั้ง 6 ด้าน แสดงดังต่อไปนี้ 

 

อุปสรรคในการแนะแนวทางและการให้คำปรึกษา 

โดยอาจารย์พี่เลี้ยงที่ให้เหตุผลนี้คือผู้อยากต้องการความช่วยเหลือในการทำให้ทราบว่านิสิตฝึกสอนมีความคาดหวังอะไรบ้าง ต้องการความช่วยเหลือในการระบุและแก้ไขแนวคิดคลาดเคลื่อนของนิสิตฝึกสอนให้ถูกต้อง การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับนิสิตฝึกสอน และต้องการความชัดเจนในกระบวนการประเมินนิสิตฝึกสอน

 

อุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับของการเป็นอาจารย์พี่เลี้ยง

มีอุปสรรคมากมายที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานกับนิสิตฝึกสอนเช่นเดียวกับแรงจูงใจ ซึ่งอุปสรรคนี้สามารถอธิบายดังต่อไป : 

การทำงานของข้าพเจ้าร่วมกับนิสิตฝึกสอนเกิดอุปสรรค เพราะ:

  • ปัญหาในการแนะแนวทางและการให้คำปรึกษา 
  • แบบฟอร์มและแนวทางไม่เพียงพอ 

ความไม่ชัดเจนในเรื่องนโยบายและกระบวนการสร้างความสัมพันธ์กับนิสิตฝึกสอน 

อุปสรรคด้านนี้เกิดจากการขาดความชัดเจนในเรื่องบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์นิเทศก์ ความไม่ชัดเจนในเรื่องกลไกการให้ข้อมูลย้อนกลับของอาจารย์นิเทศก์และอาจารย์พี่เลี้ยง ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรของมหาวิทยาลัยในกรณีที่นิสิตฝึกสอนกำลังเผชิญปัญหา และขาดกระบวนการเลือกและเตรียมอาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ที่เป็นระบบ  

 

ความกังวลเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญพิเศษ 

อุปสรรคนี้เกิดจากการที่อาจารย์พี่เลี้ยงในโรงเรียนมีความคาดหวังแตกต่างกัน เกิดปัญหาเกี่ยวกับสื่อสารกันเองระหว่างอาจารย์พี่เลี้ยง ปัญหาในการช่วยเหลืออาจารย์พี่เลี้ยงคนอื่นให้สามารถแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยได้ และความยากลำบากในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับอาจารย์พี่เลี้ยงท่านอื่นเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องวิชาชีพ

 

แบบฟอร์มและแนวทางไม่เพียงพอ 

อุปสรรคนี้เกิดขึ้นจากแนวทางในการประเมินเพื่อบ่งชี้ความแตกต่างระหว่างความสำเร็จและไม่สำเร็จของนิสิตฝึกสอนไม่ชัดเจน แบบประเมินที่ใช้ในการให้ข้อมูลย้อนกลับมีความคลุมเคลือ ไม่มีแบบฟอร์มในการประเมินที่สอดคล้องกับความต้องการของอาจารย์พี่เลี้ยง ซึ่งบางคนอาจมีความกังวลใจและบางคนมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้อยู่แล้ว ขาดการสนับสนุนให้นิสิตฝึกสอนประเมินตนเอง

 

การให้ข้อมูลย้อนกลับและการสื่อสารไม่แน่นอน 

สะท้อนถึงการขาดการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและผู้บริหารของมหาวิทยาลัยในการให้ข้อมูลแก่อาจารย์พี่เลี้ยงว่าเขาได้ให้ความช่วยเหลือนิสิตฝึกสอนดีมากน้อยเพียงใด อุปสรรคของการสื่อสารระหว่างผู้บริหารโรงเรียนและอาจารย์พี่เลี้ยง ปัญหาการสื่อสารของบุคลากรภายในโรงเรียนและบุคลากรในโรงเรียนอื่น การให้ข้อมูลย้อนกลับที่ได้รับจากนิสิตฝึกสอนเพื่อรายงานว่าสิ่งใดใช้ได้สิ่งได้ใช้ไม่ได้ยังไม่เพียงพอ 

 

ความกังวลเกี่ยวกับการเตรียมตัวนิสิตฝึกสอนก่อนการฝึกสอน 

อุปสรรคนี้เกิดขึ้นจากการขาดข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับมาตรฐานของการให้คำปรึกษานิสิตฝึกสอน ขาดข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชาที่นิสิตฝึกสอนเรียนมาก่อนการออกฝึกสอน หรือคู่มือการนิเทศมีเพียงแนวทาง เหตุการณ์ และตัวอย่างบางส่วนเท่านั้น

 

แรงจูงใจบางรายการเป็นแรงจูงใจจากภายในตัวของอาจารย์พี่เลี้ยงเอง และบางส่วนเป็นความพึงพอใจจากที่ได้เห็นผู้อื่นเจริญงอกงามและประสบความสำเร็จ ความสมดุลจะแสดงด้วยการไล่แถบสีจากเขียวอ่อนจนถึงเขียวแก่ เพื่อแสดงระดับแรงจูงใจว่าเน้นประเด็นระหว่าง “ตนเอง” และ “ผู้อื่น” ซึ่งแสดงอยู่ในลักษณะทำงานร่วมกับนิสิตฝึกสอนที่ต่างฝ่ายต่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

 

 ในทางตรงกันข้าม อุปสรรคและปัญหาบางด้านของอาจารย์พี่เลี้ยงเกิดจากการปัญหาการสื่อสารหรือปัญหาการให้ข้อมูลย้อนกลับ (ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล) และอีกส่วนเกิดจากการขาดนโยบาย แนวทาง และกระบวน (ระบบ) ที่ชัดเจน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้แสดงในกราฟรูปวงกลมตรงกลาง ซึ่งแถบสีส้มอ่อนและสีส้มเข้มในกราฟรูปวงกลมแสดงระดับอุปสรรคและปัญหาว่าเน้นประเด็นระหว่าง “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล” และ “ระบบ” ซึ่งสัมพันธ์

 

กับองค์ประกอบของการเรียนรู้ในขณะฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 

กราฟรูปวงกลมด้านขวามือสุดแสดงให้เห็นว่าท่านมองเห็นความสมดุลทั้งหมดของแรงจูงใจและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในที่ทำงานของท่านอย่างไร ขณะที่ท่านทำงานกับนิสิตในบริบทของการฝึกสอน

 

ความสมดุลงาน: แรงจูงใจ ความท้าทาย และภายในวิชาชีพ

ข้อมูลของท่านข้างล่างนี้คือกราฟรูปวงกลมจำนวน 3 กราฟ ซึ่งแสดงความสมดุลสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในโรงเรียนของท่าน

 

กราฟด้านซ้ายมือสุดสะท้อนถึงสิ่งที่ท่านเห็นว่าเป็นแรงจูงใจและมีประโยชน์ 

 

นี้จะนำไปสู่การสนทนาอภิปรายกันระหว่างอาจารย์พี่เลี้ยง เพื่อนร่วมงานในโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียน และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น

 

ขอให้ท่านทราบว่าอะไรก็เปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นท่านอาจจะเข้ามากรอบข้อมูลใน MPI นี้เป็นครั้งที่สองหรือสามก็ได้

หากท่านมองเห็นว่าบทบาทของการเป็นอาจารย์พี่เลี้ยงของท่านได้เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งท่านสามารถกรอกข้อมูลนี้ฟรีและปรากฎในเว็บไซต์

 

MPI ตะแกรง

 

แผนผัง แสดงข้อมูลได้มาจากการคะแนนจาก 4 ส่วย คือ 'ตนเอง' 'ผู้อื่น' 'ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล' และ 'เชิงระบบ' โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดวางเป็นแผนผังออกเป็นตามแกนที่มีองค์ประกอบของ แรงจูงใจ และ ความท้าทาย ซึ่งจะแสดงดังข้างล่างนี้

 

2

 

thai grid + sentences