คำอธิบาย

 

เมื่อถึงจุดนี้ MPI

 

ทำให้ท่านในฐานะอาจารย์พี่เลี้ยงเห็นข้อมูลเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาของท่านเอง ซึ่งอาจารย์พี่เลี้ยงจะมีข้อมูลเกี่ยวกับแรงจูงใจหรืออุปสรรคที่ไม่ตรงกันกับอาจารย์พี่เลี้ยงท่านอื่นทั้งหมดทุกรายการ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในกราฟนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาตนเองและทำให้เข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมในตัวบุคคลและระหว่างบุคคลซึ่งเกิดขึ้นในบริบทของโรงเรียนได้ชัดเจนขึ้น ผลที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลของ MPI 

 

ทีมงาน

 

 สมาชิกที่ร่วมกันทำงานในเมืองริชมอนด์ได้แก่บุคคลเหล่านี้ :

 

Ann Augustine, Dianne Coulter, Joni Cunningham, Tina Grigoriadis, Stephanie Hardman, Lee Hunter, Jane Kinegal, Bianca Li, Jeff Mah, Karen Mastin, David Partridge, Leonard Pawer, Sandy Rasoda, Kathleen Salbuvik, Mitch Ward, Janet White, Frederick Weil.

 

มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย: John Collins, Gaalen Erickson, Wendy Nielsen, Valérie Triggs, Tony Clarke.

 

เกี่ยวกับแบบสอบถาม

 

เมื่ออาจารย์พี่เลี้ยงตอบคำถามทุกข้อในแบบสอบถามแล้ว และกดปุ่ม “ส่ง” แล้วเว็บไซต์จะประมวลข้อมูลที่แสดงประเด็นเกี่ยวกับแรงจูงใจและอุปสรรคในการให้คำปรึกษานิสิตฝึกสอนของอาจารย์พี่เลี้ยง ซึ่งการประมวลผลนี้จะออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่สะดวกต่อการอ่าน 

 

เกี่ยวกับ MPI

เครือข่ายอาจารย์พี่เลี้ยงที่เมืองริชมอนด์ได้ทำงานร่วมกันกับศูนย์ศึกษาการผลิตครูของมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย (ประเทศแคนาดา) เป็นเวลามากกว่า 2 ปี แล้ว เพื่อพัฒนาวิธีการที่จะให้ข้อมูลย้อนกลับแก่อาจารย์พี่เลี้ยงเกี่ยวกับความเข้าใจและการปฏิบัติงานของตนเองกับนิสิตฝึกสอนโดยการใช้ MPI ซึ่ง MPI นี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพครูและพัฒนาตนเองของอาจารย์พี่เลี้ยง รวมทั้งการพัฒนาการนิเทศในระดับโรงเรียนซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะ

 

ข้อมูลของท่านจะแสดงออกมาทั้งหมด 14 แถบ ซึ่งมีรายระเอียดเฉพาะในแต่ละด้านของแรงจูงใจและอุปสรรค  จากนั้นจะแสดงในรูปของกราฟวงกลมที่แสดงให้เห็นว่าลักษณะในแต่ละด้านมีความสมดุลกันอย่างไร นอกจากนี้ท่านยังสามารถปริ้นท์วิธีการแปลผลพร้อมกับคำอธิบายของข้อคำถามและกราฟได้